วันอังคารที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2556


เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นองน่ารู้เกี่ยวกับการปฐม
พยาบาล
การปฐมพยาบาล หมายถึง การปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือ หรือการรักษาพยาบาลในขั้นแรกแก่ผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุ
หรือผู้ป่วยโดยปัจจุบันทันด่วนก่อนที่ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาพยาบาล จากแพทย์ ทั้งนี้เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยพ้นจากอันตราย
หรือลดอันตรายให้น้อยลงก่อนที่แพทย์จะรักษาในขั้นต่อไป
อุปกรณ์ปฐมพยาบาล
1.สำลี
2.ผ้ากอซแผ่นชนิดฆ่าเชื้อทำความสะอาด (แอลกอฮอล์)
3.คีมสำหรับบ่งเสี้ยน
4.ผ้าสามเหลี่ยม
5.ผ้ากอซพันแผลขนาดต่าง ๆ เช่น1 นิ้ว 2 นิ้ว 3 นิ้ว หรือ 4 นิ้ว
6.กรรไกรขนาดกลาง
7.เข็มกลัดซ่อนปลาย
8.แก้วล้างตา
9.พลาสเตอร์ม้วน หรือชิ้น
10.ผ้ายืดพันแก้เคล็ด ขัดยอก(Elastic bandage)
11.ผ้ากอซชุบพาราฟินสำหรับปิดแผลไฟไหม้

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
1. ไฟไหม้น้ำร้อนลวก
1.        ฉีก หรือตัดเสื้อผ้าบริเวณที่ถูกน้ำร้อนลวกออก
2.        เสื้อผ้าที่ไหม้ไฟและดับแล้ว ถ้าติดที่แผล ไม่ต้องดึงออก
3.        ถอดเครื่องประดับที่รัดอยู่ เช่น แหวน เข็มขัด นาฬิกา รองเท้า (เพราะอาจจะบวมทำให้ถอดยาก)
4.        ทำให้บริเวณที่ถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวกเย็นลงโดยเร็วที่สุด (ทำอย่างน้อย 10 นาที)
5.        ใช้ผ้ากอซปราศจากเชื้อปิดแผล กรณีแผลใหญ่ใช้ผ้าปิดพันด้วยผ้ายืดหลวม ๆ
2. การทำแผล
1.        ล้างมือให้สะอาด
2.        ทำแผลที่สะอาดก่อนแผลที่สกปรก
3.        เช็ดรอบแผลด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์ (เช็ดจากข้างในวนมาข้างนอกทางเดียว)
4.        ปิดด้วยผ้ากอซ หรือผ้าสะอาด
5.        อย่าให้ถูกน้ำอีก เพราะจะทำให้เป็นหนองหรือหายช้า
                2.1 กรณีแผลถลอกทั่วไป
1.        ล้างด้วยน้ำ และสบู่ให้สิ่งสกปรกออกให้หมด
2.        เช็ดด้วยแอลกอฮอล์ทาทิงเจอร์แผลสด หรือ เบตาดีน
3.        ไม่ต้องปิดแผล
2.2 กรณีแผลตื้น หรือมีดบาด (เลือดออกไม่มาก)
1.        บีบเลือดออกบ้าง
2.        ล้างด้วยน้ำสะอาด และสบู่
3.        ใส่ยาทิงเจอร์แผลสด หรือเบตาดีน
4.        ปิดแผล เพื่อให้ขอบแผลสมานติดกัน
2.3      กรณีแผลลึกถึงกระดูก หรือกระดูกโผล่
1.ห้ามเลือดทันที
2.ใช้ผ้าสะอาดคลุม ห้ามจับกระดูกยัดกลับเข้าไป
3.รีบพาไปพบแพทย์ทันที


2.4 กรณีแผลมีหนอง
1.        ล้างด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์หรือเดกิ้นโซลูชั่น ทุกวัน
2.        เช็ดด้วยสำลี
3.        รับประทานยาปฏิชีวนะตามแพทย์สั่งให้ครบ
2.5 กรณีแผลตะปูตำ
1.        ล้างแผลให้สะอาดด้วยน้ำ และสบู่มากๆ
2.        ใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ทำความสะอาดอีกครั้ง
3.        ปิดแผล ห้ามถูกน้ำ
4.        ฉีดยาป้องกันบาดทะยัก
5.        รับประทานยาปฏิชีวนะตามแพทย์สั่งให้ครบ
2.6 กรณีแผลถูกแทงด้วยของแหลม มีด ไม้
1.        ตัดมีด หรือไม้ทถีู่กแทงให้สั้นลง และยึดวัสดุนั้นให้อยู่นงิ่ เพื่อให้เดินทางไปพบแพทย์
2.        ได้สะดวก (ห้ามดึงออก)
3.        ให้อยู่นิ่ง ๆ
4.        รีบนำส่งโรงพยาบาล


3. ฟกช้ำหัวโน ห้อเลือด
1.        ให้ประคบความเย็นเร็วที่สุด เพื่อลดอาการบวม หรือใช้มะนาวผสมดินสอพองพอกไว้
(ปกติรอยฟกช้ำจะหายไปเอง)
     2.ถ้าเกิดอาการนานเกิน 24 ชั่วโมง ใช้ประคบ และคลึงด้วยผ้าชุบน้ำร้อน วันละ2-3 ครั้ง
4. ข้อเคล็ด
2.        ให้บริเวณข้อนั้น ๆ อยู่นิ่ง ๆ และยกสูงไว้
3.        ประคบน้ำแข็งทันทีเพื่อลดอาการบวม ปวด
4.        ถ้าภายหลังมีอาการบวม ให้ประคบด้วยน้ำร้อน หรือนวดด้วยยาหม่อง
5.        หรือน้ำมันระกำ หรือGPO บาล์ม
6.        ถ้าปวดมาก บวมมาก ให้รีบปรึกษาแพทย์
5. กระดูกหัก
1.        ให้วางอวัยวะส่วนนั้น ๆบนแผ่นไม้หรือหนังสือหนา ๆ
2.        ใช้ผ้าพันยึดไม่ให้เคลื่อนไหว
a.        ถ้าเป็นปลายแขน หรือมือ ให้ใช้ผ้าคล้องคอ

6. สัตว์กัด
6.1 สุนัขกัด
1.        ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด ปิดด้วยผ้ากอซสะอาด
2.        ถ้าเลือดออก ห้ามเลือดทันที(ด้วยผ้ากอซ หรือบีบแผล)
3.        รีบไปพบแพทย์เพื่อฉีดวัคซีน
6.2 งูกัด
1.        ดูรอยแผล ถ้าเป็นงูมีพิษ จะมีรอยเขี้ยว
2.        ใช้เชือก หรือยาง หรือเข็มขัดรัดเหนือแผลให้แน่นพอควร
3.        ให้นอนนิ่ง ๆ คอยปลอบใจ
4.        ห้ามดื่มสุรา ยาดองเหล้า ยากล่อมประสาท
5.        ถ้าหยุดหายใจให้ช่วยหายใจทันที
6.        ควรนำงูไปพบแพทย์ด้วย ถ้าทำได้
6.3 ทากดูดเลือด
1.        ห้ามดึง เพราะเลือดจะหยุดยาก
2.        จี้ทากด้วยบุหรี่ติดไฟ หรือไม้ขีดไฟให้ทากหลุด
3.        ล้างแผลให้สะอาด ใส่ทิงเจอร์แผลสด หรือเบตาดีน
6.4 แมลงต่อย
1.        ถ้าถูกต่อยหลายตัว หรือต่อยบริเวณหน้า ให้รีบไปพบแพทย์
2.        พยายามถอนเหล็กใน (โดยใช้หลอดกาแฟเล็ก ๆ แข็ง ๆ หรือปากกาครอบแล้วกด
ให้เหล็กในโผล่แล้วดึงเหล็กในออก)
3.        ใช้ยาแก้แพ้ทา หรือราดด้วยน้ำโซดาหรือประคบด้วยน้ำแข็ง (ปกติอาการบวมจะลดลง
ใน 1 วัน ถ้าไม่ลดให้พบแพทย์)
4.        ถ้ามีอาการปวด กินยาแก้ปวด (พาราเซตามอล)

การปฏิบัติสำหรับกรณีฉุกเฉิน
1. ตั้งสติให้ได้อย่าตกใจ
2. ขอความช่วยเหลือจาก
·        สายด่วนฮอทไลน์ศูนย์สื่อสารสาธารณสุข "นเรนทร" 1669 หรือ 0-2951- 0282
·        เหตุด่วนเหตุร้าย 191 หรือ 0-2246-1338-42
·        เพลิงไหม้199 หรือ 0-2246-0199
·        จส.100 0-2711-9150 หรือ 0-2711-9151-8
·        สวพ.91 1644 หรือ 0-2562-0033-5 หรือ 0-2941-0848
·        ร่วมด้วยช่วยกัน 1677 หรือ 0-2644-6996
·        กู้ภัยป่อเต๊กตึ๊ง 0-2226-4444-8
·        กู้ภัยร่วมกตัญญู0-2751-0951-3
·        หน่วยแพทย์กู้ชีวิตวชิรพยาบาล 1554
หน้าถัดไป
                                          

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น