วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ระบบโครงกระดูกและกล้ามเนื้อ





ระบบโครงกระดูก
             ร่างกายของมนุษย์ที่เจริญเติบโตเต็มที่จะประกอบด้วยกระดูกทั้งหมด 206 ชิ้นแบ่งเป็น กระดูกแกน 80 ชิ้น เช่น กะโหลกศีรษะ กระดูกสันหลัง กระดูกก้นกบ กระดูกซี่โครง อีกพวกหนึ่ง คือ กระดูกรยางค์ จำนวน 126 ชิ้น เช่น กระดูกแขนขา สะบัก ไหปลาร้า เชิงกราน
ความสำคัญของกระดูก 
โครงกระดูกมีหน้าที่สำคัญอยู่ 3 ประการ คือ 
- ทำหน้าที่เป็นโครงร่างของร่างกายให้ร่างกายคงรูปอยู่ได้
- ป้องกันอันตรายให้แก่อวัยวะที่สำคัญ เช่น สมอง ไขสันหลัง หัวใจ ปอด ตับ
                - เป็นที่ยึดของกล้ามเนื้อ การที่เราเคลื่อนไหวได้เป็นผลมาจากการหดตัวและคลายตัว
                ของกล้ามเนื้อ ที่ยึดติดกับกระดูก




ส่วนประกอบของกระดูก
1. สารอนินทรีย์ คือ สารแคลเซียมฟอสเฟต ซึ่งเป็นสารทำให้กระดูกแข็งแกร่ง มีปริมาณสองในสามของเนื้อกระดูก
2. สารอินทรีย์ คือ สารที่มีลักษณะเหนียวและยืดหยุ่น เช่น โปรตีน ทำหน้าที่ประสานโมเลกุลของแคลเซียมฟอสเฟตเข้าด้วยกัน เกิดเป็นโครงร่างของกระดูก ถ้าขาดแคลเซียมฟอสเฟต จะทำให้กระดูกมีลักษณะอ่อนนิ่มเหมือนยาง อย่างกระดองปูนิ่ม ขณะเดียวกันถ้าขาดสารโปรตีนจะมีลักษณะเป็นผงคล้ายขี้เถ้า 

เกร็ดความรู้
                 กระดูกแต่ละชิ้นจะมีเอ็น เรียกว่า 
ลิกาเมนต์ ( Ligament)ซึ่งมีความเหนียวมากยึดติดกันทำให้กระดูกเคลื่อนไหวได้ในวงจำกัดและบริเวณที่กล้ามเนื้อที่ติดกับกระดูกยังมีเอ็นเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเรียกว่า เท็นดอน ( Tendon) ซึ่งจะช่วยยึดกล้ามเนื้อให้ติดกระดูกสำหรับกระดูกสันหลังมีหน้าที่ค้ำจุนร่างกายมีกระดูกชิ้นเล็กๆ เป็นข้อๆ แต่ละข้อมีแผ่นกระดูกอ่อน เรียกว่า หมอนรองกระดูก ” รองรับป้องกันการเสียดสีขณะเคลื่อนไหว และยังมีเอ็นและกล้ามเนื้อยึดติดกันแต่ละข้อ
ทำให้บิดตัวเอียงตัวก้มตัวและโน้มตัวได้




ข้อต่อกระดูก
          โครงกระดูกของมนุษย์มีข้อต่อมากมาย ซึ่งการมีข้อต่อจะทำให้กระดูกยืดหยุ่นและทำให้ส่วนต่างๆของร่างกายเคลื่อนไหวได้สะดวก ข้อต่อมี 3 แบบ ดังนี้
1. ข้อต่อแบบลูกกลมในเบ้า เช่น กระดูกข้อต่อที่สะโพก ข้อต่อที่หัวไหล่ ทำให้เคลื่อนไหว
    ได้หลายทิศทาง รวมทั้งการหมุนแขนและหมุนขา ซึ่งในเบ้ากระดูกจะมีกระดูกอ่อนและ
    น้ำไขข้อหล่อลื่น ช่วยลดการเสียดสีของกระดูกเวลาเคลื่อนไหว 




2. แบบบานพับ เช่น กระดูกข้อต่อที่นิ้วมือ นิ้วเท้า ข้อศอก หรือข้อพับต่างๆ
    มีลักษณะการเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกันกับการเคลื่อนที่ของบานพับประตูหรือหน้าต่าง 



3. แบบเป็นเดือยสวมลงในเบ้า เช่น กระดูกต้นคอทำให้เราสามารถก้มและเงยหน้า
    เอียงคอซ้ายขวาและหันหน้าซ้ายขวา



การบำรุงรักษาและพัฒนาโครงร่าง
ข้อเคล็ด เกิดจากเส้นเอ็นที่ยึดติดกระดูกฉีกขาด ทำให้อักเสบบวมบริเวณข้อต่อ และห้อเลือด รักษาโดยใช้น้ำแข็งประคบ
1. ท่ายืนควรยืดไหล่หลังตรง แอ่นเล็กน้อยบริเวณคอ
2. หน้าอกแอ่น ตะโพกยื่น ทำให้กระดูกสันหลังช่วงเอวแอ่นมากทำให้เกิดอาการปวดหลัง
3. การนั้งเอามือเท้าคาง หลังงอ ทกให้กรดูกสันหลังโก่ง ปวดหลัง
4. การเดินเอาส้นเท้าลงก่อน ทำให้พยุงน้ำหนักได้ดี เดินเร็วแล้วมีความรู้สึกว่าตัวเบากว่าการเดินเอาปลายเท้าลง
อาหารบำรุงกระดูก
     อาหารช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กระดูก เช่นอาหารพวกที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ นมสด ไข่แดง ผักใบเขียว ผลไม้ และอาหารที่มีวิตามินดี เช่น น้ำมันตับปลา ผักสด การออกกำลังกายเป็นประจำเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยพัฒนากระดูกให้เจริญอย่างเต็มที่และแข็งแรง ระวังอย่าให้น้ำหนักตัวมากเกินไปเพราะอาจทำให้ข้อต่อชำรุดเสื่อมสภาพเร็ว
โรคเกี่ยวกับกระดูก มาจากหลายสาเหตุ
1. จากพันธุกรรม
2. จากเชื้อโรค
3. จากสิ่งแวดล้อม
4. จากวัย, อายุที่เพิ่มขึ้น



ระบบกล้ามเนื้อ
 กล้ามเนื้อเป็นเนื้อเยื่อที่พบในอวัยวะ เกือบทุกชนิดของร่างกายและนับว่าเป็นเนื้อเยื่อที่มีปริมาณมากที่สุด คือประมาณร้อยละ 40 - 50 ของน้ำหนักตัว การทำงานของกล้ามเนื้อ คือการหดตัว (contraction) ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของระบบต่างๆ ในร่างกาย เช่น ระบบกระดูก ระบบไหลเวียนของโลหิต ระบบหายใจ ระบบย่อยอาหาร ระบบขับถ่ายปัสสาวะ เป็นต้น



กล้ามเนื้อในร่างกายแบ่งเป็น 3 ชนิด ดังนี้
                   



1. กล้ามเนื้อลาย (Striated Muscles)

มีลักษณะคือ มีนิวเคลียสจำนวนมากอยู่ที่ขอบของเซลล์ มีลายตามขวาง สีเข้มและสีจางสลับกัน ซึ่งเห็นได้ชัดเจนเมื่อย้อมด้วยสี คนที่ออกกำลังเสมอเส้นใยกล้ามเนื้อจะโตขึ้น และหนาขึ้น แต่จำนวนไม่เพิ่มขึ้น กล้ามเนื้อลายมีหน้าที่เคลื่อนไหวร่างกายที่ข้อต่อต่างๆเคลื่อนไหวลูกตา ช่วยในการเคี้ยวและการกลืน เคลื่อนไหวลิ้น เคลื่อนไหวใบหน้าแสดงอารมณ์ต่างๆ และยังประกอบเป็นผนังอก และผนังท้อง ตลอดจนการควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ



2. กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth Muscles)

มีลักษณะคือเป็นเซลล์รูปกระสวย มีนิวเคลียสรูปไข่อยู่ตรงกลาง กล้ามเนื้อเรียบเป็นกล้ามเนื้อที่บุอยู่ที่อวัยวะต่างๆภายในของร่างกายมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะย่อยอาหาร และอวัยวะภายในต่างๆ เช่น ลำไส้ กระเพาะอาหาร อวัยวะสืบพันธุ์ มดลูก เส้นเลือดดำ ฯลฯ ซึ่งอยู่นอกอำนาจของจิตใจ แต่อยู่ภายใต้การควบคุมของระบบประสาทอิสระ (Autonomie Nervous System) 


3. กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac Muscles)


รูปร่างคล้ายกล้ามเนื้อลาย และทำงานอยู่นอกเหนืออำนาจจิตใจ กล้ามเนื้อชนิดนี้พบที่หัวใจเพียงแห่งเดียว เซลล์ของกล้ามเนื้อหัวใจยังมีลักษณะพิเศษเฉพาะ คือมักจะแยกเป็นแฉก แต่ละแฉกของเซลล์หนึ่งจะเรียงประชิดต่อกับส่วนที่แยกของอีกเซลล์หนึ่ง ทำให้การเรียงตัวของกล้ามเนื้อหัวใจมีลักษณะคล้ายร่างแห


การทำงานของกล้ามเนื้อ
1.  การทำงานของกล้ามเนื้อยึดกระดูกหรือกล้ามเนื้อลาย 
เซลล์กล้ามเนื้อมีลักษณะแตกต่างจากเซลล์ทั่ว ๆ ไป  เพราะภายในเซลล์ประกอบด้วยโปรตีนที่ซ้อนกันเป็นกลุ่ม ๆ มากมาย  เช่น ไมโอซิน (myosin)  แอคติน (actin)  สามารถทำงานได้โดยการหดตัวและคลายตัวสลับกันเป็นคู่ ๆ  เรียกการทำงานแบบนี้ว่า  แอนตาโกนิซึม (antagonism)
กล้ามเนื้อที่ทำให้เกิดการงอแขน งอขา  เรียกว่า  ไบเส็บ (biceps)  ส่วนกล้ามเนื้อที่ทำให้เกิดการเหยียดแขนเหยียดขา  เรียกว่า  ไตรเส็บ (triceps)

ในกรณีที่ต้องใช้พลังงานมาก ๆ ร่างกายจำเป็นต้องมีการหายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจน  ซึ่งทำให้เกิดกรดแลกติก (lactic acid)  ทำให้เกิดอาการเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อ


2.  การทำงานของกล้ามเนื้อเรียบ  กล้ามเนื้อประเภทนี้อยู่นอกเหนือการควบคุมของระบบประสาทส่วนกลาง  การหดตัวของกล้ามเนื้อชนิดนี้ไม่รุนแรงและคลายตัวสลับอย่างช้า ๆ พบได้ที่ผนังของอวัยวะระบบย่อยอาหาร  ระบบขับถ่าย  และระบบสืบพันธุ์
     3.  การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ  ทำงานอยู่นอกอำนาจจิตใจ  การทำงานเกิดขึ้นตลอดเวลากำลังของกล้ามเนื้อ  ความสามารถในการทำงานของกล้ามเนื้อจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ วัย  เพศ (ฮอร์โมนของเพศชายมีผลให้กล้ามเนื้อแข็งแรงกว่าเพศหญิง) การออกกำลังกายและอาหาร  เป็นต้น
หน้าถัดไป


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น